วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ปลานิล-เหยื่อตกปลานิล



ปลานิล Oreochromis nilotica
ปลานิล Oreochromis nilotica เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 2508 เป็นต้นมา สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ การเพาะเลี้ยงในระยะเวลา 8 เดือน - 1 ปีสามารถเจริญเติบโตได้ถึงขนาด 500 กรัม เนื้อปลามีรสชาติดี มีผู้นิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวาง ขนาดปลานิลที่ตลาดต้องการจะมีน้ำหนักตัวละ 200-300 กรัม จากคุณสมบัติของปลานิลซึ่งเลี้ยงง่าย เจริญเติบโตเร็ว แต่ปัจจุบันปลานิลพันธุ์แท้ค่อนข้างจะหายาก เพื่อให้ได้ปลานิลพันธุ์ดีกรมประมงจึงได้ดำเนินการ ปรับปรุงพันธุ์ปลานิลในด้านต่าง ๆ อาทิเจริญเติบโตเร็ว ปริมาณความดกของไข่สูง ให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลานิลจะได้มีความมั่นใจในการเลี้ยงปลานิลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำให้เพียงพอต่อการบริโภคต่อไป

ความเป็นมา
สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ มกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งปลานิลจำนวน 50 ตัว ความยาวเฉลี่ยประมาณตัวละ 9 เซนติเมตร นำหนักประมาณ 14 กรัม มาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 นั้น ในระยะแรกได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดิน เนื้อที่ประมาณ 10 ตารางเมตร ณ บริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อเลี้ยงมาได้ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่ามีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สวนหลวงขุดบ่อขึ้นใหม่อีก 6 บ่อ มีเนื้อที่เฉลี่ยบ่อละประมาณ 70 ตารางเมตร ซึ่งในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงย้ายพันธุ์ปลาด้วยพระองค์เอง จากบ่อเดิมไปปล่อยเลี้ยงในบ่อใหม่ทั้ง 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 ต่อจากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการเจริญเติบโต เป็นประจำทุกเดือน โดยที่ปลาชนิดนี้เป็นจำพวกกินพืช เลี้ยงง่าย มีรสชาดดีออกลูกดก เจริญเติบโตได้รวดเร็ว ในเวลา 1 ปี จะมีน้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม และมีความยาวประมาณ 1 ฟุต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ปลาชนิดนี้แพร่ขยายพันธุ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์ต่อไป ดังนั้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า "ปลานิล" และได้พระราชทานปลานิลขนาดยาว 3-5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมงนำไปเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลาง บางเขนและที่สถานีประมงต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร รวม 15 แห่ง เพื่อดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว จึงได้แจกจ่ายให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามพระราชประสงค์ต่อไป


รูปร่างลักษณะ
ปลานิลเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลซิคลิดี (Cichlidae) มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ในทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบ ในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยีกา โดยทีปลาชนิดนี้เจริญเติบโตเร็วและเลี้ยงง่าย เหมาะสมที่จะนำมาเพาะเลี้ยงในบ่อได้เป็นอย่างดี จึงได้รับความนิยมและเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเชีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้
รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศ แต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่างเสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลาดพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อนเป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบแข็งและอ่อนเช่นกัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่กระดูกแก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาวและสีดำตัดขวางแลดูคล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป
ต่อมากรมประมงโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้นำปลานิลสายพันธุ์แท้มีชื่อว่าปลานิลพันธุ์จิตรลดาไปดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ใหม่จำนวน 3 สายพันธุ์ คือ ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1, ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2, ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3
ซึ่งปัจจุบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำได้กระจายพันธุ์ปลานิลทั้ง 3 สายพันธุ์ไปสู่ภายรัฐและเอกชนทั่วประเทศเพื่อใช้ในการเพาะเลี้ยงแล้ว โดยหน่วยงานของสถาบันฯ ในจังหวัดปทุมธานีและหน่วยพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจืดพิษณุโลก ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังดำเนินการดำรงสายพันธุ์และทดสอบพันธุ์ปลานิลดังกล่าวด้วย

ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 1
เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์แบบคัดเลือกภายในครอบครัว (within family selection) เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 จนถึงปัจจุบันเป็นชั่วอายุที่ 7 ซึ่งทดสอบพันธุ์แล้วพบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตดีกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 22%
ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2
เป็นปลานิลที่พัฒนาพันธุ์มาจากปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา โดยการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมในพ่อพันธุ์ให้มีโครโมโซมเพศเป็น "YY" ที่เรียกว่า "YY-Male" หรือซุปเปอร์เมล ซึ่งเมื่อนำพ่อพันธุ์ดังกล่าวไปผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ปกติจะได้ลูกปลานิลเพศผู้ที่เรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 2" ซึ่งมีลักษณะเด่นคือเป็นเพศผู้ที่มีโครโมโซมเป็น "XY" ส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีขาวนวล เนื้อหนาและแน่นรสชาดดี อายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 45%
ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3
เป็นปลานิลที่ปรับปรุงพันธุ์มาจากการนำปลานิลพันธุ์ผสมกลุ่มต่าง ๆ ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาและปลานิลสายพันธุ์อื่น ๆ อีก 7 สายพันธุ์ ได้แก่ อียิปต์ กานา เคนยา สิงคโปร์ เซเนกัล อิสราเอล และไต้หวัด ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็วและมีอัตรารอดสูง ในสภาพแวดล้อมการเลี้ยงต่าง ๆ ไปสร้างเป็นประชากรพื้นฐาน จากนั้นจึงดำเนินการคัดพันธุ์ในประชากรพื้นฐานต่อโดยวิธีดูลักษณะครอบครัวร่วมกับวิธีดูลักษณะภายในครอบครัว ปลานิลชั่วอายุที่ 1-5 ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์โดยหน่วยงาน ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงนำลูกปลาชั่วอายุที่ 5 เข้ามาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2538 สถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำจึงดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปลาดังกล่าวต่อ โดยวิธีการเดิมจนในปัจจุบันได้ 2 ชั่วอายุ และเรียกว่า "ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา 3" ปลาสายพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือส่วนหัวเล็ก ลำตัวกว้าง สีเหลืองนวล เนื้อหนาและแน่น รสชาติดีอายุ 6-8 เดือน สามารถเจริญเติบโตได้ขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัมให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปลานิลพันธุ์ที่เกษตรกรเลี้ยง 40%

คุณสมบัติและนิสัย
ปลานิล มีนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง (ยกเว้นเวลาสืบพันธุ์) มีความอดทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี จากการศึกษาพบว่า ปลานิลทนต่อความเค็มได้ถึง 20 ส่วนในพันส่วน ทนต่อค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ได้ดีในช่วง 6.5-8.3 และสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ถึง 40 องศาเซลเซียส แต่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียสพบว่าปลานิลปรับตัวและเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ทั้งนี้เป็นเพราะถิ่นกำเนิดเดิมของปลาชนิดนี้อยู่ในเขตร้อน

การผสมพันธุ์และวางไข่
ปลานิลสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี โดยใช้เวลา 2-3 เดือนต่อครั้ง แต่ถ้าอาหารเพียงพอและเหมาะสมในระยะเวลา 1 ปี จะผสมพันธุ์ได้ 5-6 ครั้ง ขนาดอายุและช่วงการสืบพันธุ์ของปลาแต่ละตัวจะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม และสภาพทางสรีรวิทยาของปลาเอง การวิวัฒนาการของรังไข่ และถุงน้ำเชื้อของปลานิล พบว่าปลานิลจะมีไข่และน้ำเชื้อเมื่อมีความยาว 6.5 เซนติเมตร โดยปกติปลานิลที่ยังโตไม่ได้ขนาดผสมพันธุ์ หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเพื่อการวางไข่ จะอยู่รวมกันเป็นฝูง แต่ภายหลังที่ปลามีขนาดที่จะสืบพันธุ์ได้ ปลาตัวผู้จะแยกออกจากฝูง แล้วเริ่มสร้างรัง โดยเลือกเอาบริเวณเชิงลาด หรือก้นบ่อที่มีระดับน้ำลึก ระหว่าง 0.5-1 เมตร วิธีการสร้างรังน้ำ ปลาจะปักหัวลง โดยที่ตัวของมันอยู่ในระดับตั้งฉากกับพื้นดิน แล้วใช้ปากพร้อมกับการเคลื่อนไหวของลำตัว เพื่อเขี่ยดินตะกอนออก จากน้ำจะอมดินตะกอน งับเศษสิ่งของต่าง ๆ ออกไปทิ้งนอกรัง ทำเช่นนี้จนกว่า จะได้รังที่มีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20-35 เซนติเมตร ลึกประมาณ 3-6 เซนติเมตร ความกว้างและความลึกของรังไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของพ่อปลา หลังจากสร้างรังเสร็จเรียบร้อยแล้ว มันจะพยายามไล่ปลาตัวอื่น ๆ ให้ออกไปนอกรัศมีของรังไข่ ประมาณ 2-3 เมตร ขณะเดียวกัน พ่อปลาที่สร้างรัง จะแผ่ครีบหางและอ้าปากกว้าง ในขณะที่มีปลาตัวเมียว่ายน้ำอยู่ใกล้ ๆ รัง และเมื่อเลือกตัวเมียได้ถูกใจแล้ว ก็จะแสดงอาการจับคู่ โดยว่ายน้ำเคล้าคู่กันไป โดยใช้หางดีดและกันกันเบา ๆ การเคล้าเคลียดังกล่าวใช้เวลาไม่นานนัก ปลาตัวผู้ก็จะใช้บริเวณหน้าผากดุนที่ใต้ท้องของตัวเมีย เพื่อเป็นการกระตุ้นเร่งเร้าให้ตัวเมียวางไข่ ซึ่งตัวเมียจะวางไข่ครั้งละ 10-15 ฟอง ปริมาณไข่รวมกันแต่ละครั้งมีประมาณ 50-600 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา เมื่อปลาวางไข่แต่ละครั้ง ปลาตัวผู้จะว่ายน้ำไปเหนือไข่ พร้อมกับปล่อยน้ำเชื้อลงไป ทำเช่นนี้จนกว่าการผสมพันธ์แล้วเสร็จ โดยใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ปลาตัวเมียเก็บไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว อมไว้ในปากและว่ายออกจากรัง ส่วนปลาตัวผู้ ก็จะคอยหาโอกาสเคล้าเคลียกับปลาตัวเมียอื่น ๆ ต่อไป

การฟักไข่
ไข่ปลาที่อมไว้โดยปลาตัวเมียจะวิวัฒนาการขึ้นตามลำดับ แม่ปลาจะขยับปากให้น้ำไหลเข้าออกในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อช่วยให้ไข่ที่อมไว้ได้รับน้ำสะอาด ทั้งยังเป็นการป้องกันศัตรูที่จะมากินไข่ ระยะเวลาฟักไข่ที่ปลาตัวเมียใช้แตกต่างกันตามอุณหภูมิของน้ำ สำหรับน้ำที่มีอุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส ไข่จะวิวัฒนาการเป็นลูกปลาวัยอ่อนภายใน 8 วัน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว ถุงอาหารยังไม่ยุบ และจะยุบเมื่อลูกปลามีอายุครบ 13-14 วัน นับจากวันที่แม่ปลาวางไข่ ในช่วงระยะเวลาที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ ลูกปลานิลวัยอ่อนจะเการวมตัวกันเป็นกลุ่ม โดยว่ายวนเวียนอยู่บริเวณหัวของแม่ปลา และเข้าไปหลบซ่อนอยู่ในช่องปากเมื่อมีภัย หรือถูกรบกวนโดยปลานิลด้วยกันเอง เมื่อถุงอาหารยุบลง ลูกปลานิลจะเริ่มกินอาหารจำพวกพืช และไรน้ำขนาดเล็กได้ และหลังจาก 3 สัปดาห์แล้ว ลูกปลาก็จะกระจายแตกฝูงไปหากินเลี้ยงตัวเองได้โดยลำพัง

การให้อาหารและปุ๋ยในบ่อเพาะพันธุ์
การเลี้ยงปลานิลมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารสมทบ หรืออาหารผสม ได้แก่ ปลายข้าว สาหร่าย รำละเอียด ในอัตราส่วย 1:2:3 โดยให้อาหารดังกล่าวแก่พ่อแม่ปลานิลประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว ทั้งนี้เพื่อให้ปลานิลใช้เป็นพลังงาน ซึ่งต้องใช้มากกว่าในช่วงการผสมพันธุ์ ส่วนปุ๋ยคอกแห้งก็ต้องใส่ในอัตราส่วนประมาณ 100-200 กก.ต่อไร่ต่อเดือน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารธรรมชาติในบ่อ ได้แก่ พืชน้ำขนาดเล็ก ๆ ไรน้ำและตัวอ่อน อันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกปลานิลวัยอ่อนภายหลังที่ถุงอาหารยุบลง และจะต้องดำรงชีวิตอยู่ในบ่อเพาะดังกล่าวประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่ออนุบาล ถ้าในบ่อขาดอาหารธรรมชาติ ผลผลิตลูกปลานิลจะได้น้อย เพราะขาดอาหารที่จำเป็นเบื้อต้น หลังจากถุงอาหารยุบตัวใหม่ ๆ ก่อนที่ลูกปลานิลจะสามารถกินอาหารสมทบอื่น ๆ ได้ อาหารสมทบที่หาได้ง่ายคือ รำข้าว ซึ่งควรปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นด้วยใช้ปลาป่น กากถั่ว และวิตามินเป็นส่วนผสม นอกจากนี้แหนเป็ดและสาหร่ายบางชนิดก็สามารถใช้เป็นอาหารเสริมแก่พ่อแม่พันธุ์ปลานิลกได้เป็นอย่างดี ในกรณีทีใช้กระชังไนล่อนตาถี่เพาะพันธุ์ปลานิลก็ควรให้อาหารสมทบแก่พ่อแม่ปลาอย่างเดียว

ที่บรรยายมามากมาย ผมไม่ได้เลี้ยงปลานะครับ แต่ผมชอบตกปลา โดยเฉพาะปลานิล
เหยื่อปลานิล
สูตร ๑
ไส้เดือนเป็นๆ ใช้เกี่ยวเบ็ดตัวเดี่ยว หรือใช้ตะกร้อหุ้มรำแล้วเกี่ยวไส้เดือนที่เบ็ดตัวสุดท้ายก็ได้
สูตร ๒
กุ้งฝอยเป็นๆ ใช้ตระกร้อหุ้มรำแล้วเกี่ยวกุ้งฝอยที่ตะกร้อ ๒ ตัวและที่เบ็ดตัวสุดท้ายอีก ๑ ตัว

สูตร ๓
ส่วนผสม  ขนมปังป่น รำคั่ว น้ำที่บ่อ ต้อหอม ผักชี
วิธีทำ นำขนมปังมาตากแห้งแล้วนำมาปั่นให้ละเอียดผสมกับรำคั่ว ผสมกับน้ำที่บ่อ ผสมต้นหอมและผักชีซอย นวดให้เข้ากัน
ชนิดของปลา ปลานิล ปลายี่สก อื่น”ๆ

สูตร ๔ มะพร้าวสามแดด
ส่วนผสม มะพร้าวขูด 1 ก.ก รำอ่อนหอม 2 ก.ก ขนมปังฝุ่น 1 ก.ก กากถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง
วิธีทำ นำเอามะพร้าวขนมปังฝุ่นรำนั้นร่อนเสียก่อน ทั้งสามนี้เอามารวมกัน แล้วจัดการคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดีเติมด้วยกากถั่วเหลืองและนมถั่งเหลืองกะคะเนดูว่าให้พอดีอย่าให้แฉะหรือแข็งจนเกินไปแล้วเอามาใส่ถุงพลาสติกเก็บเอาไว้สามวันจึงค่อยนำเอามาใช้
วิธีใช้ เมื่อจะเอาไปใช้นั้นตรวจสอบดูเสียก่อนว่าเหยื่ออยู่ในสภาพอย่างไรใช้ตกแบบตะกร้อเบ็ดพวงดีที่สุด ใช้เป็นเหยื่ออ่อยได้อีกด้วย
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด
 สูตร ๕  มาม่าซัง
ส่วนผสม รำอ่อน 1 ก.ก ข้าวสุก 1 ก.ก ขนมปังฝุ่น 1 ก.ก มาม่า 2 ซอง
วิธีทำ นำรำมาร่อนเอากากออก แล้วเอาใส่กะละมังตามด้วยขนมปังฝุ่นเคล้าให้เข้ากันดี เมื่อได้ที่แล้วพักเอาไว้ จากนั้นเอามาม่ามาทำการลวกน้ำร้อนเอาน้ำน้อย ๆ พอสุก แล้วเอามาเทรวมกันเคล้าให้เข้ากันใส่ข้าวสุกลงไปด้วย ระวังอย่าให้ข้าวสุกเป็นก้อนค่อย ๆ เคล้าให้ทั่ว แล้วนำเอาไปตกปลาได้
วิธีใช้ เหยื่อนี้ตกด้วยตระก้อหุ้มรำ เหน็บด้วยขนมปัง หรือจะเกี่ยวด้วยเม็ดโฟมก็ได้
ชนิดของปลา ปลาเกล็ด ปลาตะเพียน กระมัง นิล ยี่สก
สูตร ๖ รำหมักเหล้า
ส่วนผสม รำอ่อน 2 ก.ก ขนมปังฝุ่น 1 ก.ก เหล้าขาวครึ่งขวด
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนให้กากหมด แล้วใส่กะละมังเทขนมปังฝุ่นลงไปแล้วจัดการคลุกเคล้า พร้อมกันนั้นให้เทเหล้าขาวลงไปกลิ่นจะหอมไปทั่วระหว่างรำกับเหล้า เคล้าให้ดีเป็นอันว่าเสร็จพิธี เก็บใส่ถุงไว้
วิธีใช้ สูตรนี้ใช้ได้ทั้งเป็นเหยื่ออ่อยแล้วเหยื่อตก เวลาจะตกปลาที่ไหนก็ทำการโปรยเหยื่อเพื่ออ่อยไปก่อนจะทำให้การตกปลาดีขึ้น
ชนิดของปลา ปลาเกร็ด นิล ยี่สก จีน ตะเพียน กระมัง นวลจันทร์ ฯลฯ
สูตร ๗ ผีบอก
ส่วนผสม รำ 1 ก.ก แป้งข้าวจ้าวครึ่งกิโล ขนมปังฝุ่น 1 ก.ก น้ำมะพร้าวพอประมาณ
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนเอากากออกให้หมด เสร็จแล้วนำเอามาเทลงในกะละมัง ขนมปังฝุ่นนั้นเทตามลงไป เคล้าให้เข้ากัน เติมด้วยแป้งข้าวเจ้าแล้น้ำมะพร้าวเป็นส่วนที่จะทำให้นิ่มเคล้าให้เข้ากันดีอย่าให้เละมาก แล้วนำเอาหมักใส่ถุงพลาสติกปิดปากให้แน่นสักสามวันก็ใช้ได้
วิธีใช้ ใช้ตกแบบตะกร้อหุ้มรำตามสูตรมดเอกซ์
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด รวมทั้งปลาหนังก็ใช้ได้
สูตร ๘ แพ้ท้อง
ส่วนผสม รำอ่อน 2 ก.ก มะพร้าวขูดครึ่ง ก.ก นมเปรี้ยว 2 ขวด
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนเอากากออกให้หมด เสร็จแล้วเอามะพร้าวขูดมาเทใส่ลงไป แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากันดีกับรำที่เตรียมเอาไว้ เมื่อส่วนผสมทั้งสองเข้ากันดีแล้ว เทนมเปรี้ยวลงไป แล้วเคล้าให้เข้ากันดีอีกครั้งหนึ่ง แล้วหมักเอาไว้สัก 3 วัน กลิ่นจะออกเปรี้ยวแต่หอม
วิธีใช้ เมื่อจะนำเอาไปใช้นั้น ทำการเช็คดูเสียก่อนว่าเหยื่ออยู่ในสภาพที่พร้อมจะตกหรือเปล่า ถ้าเหลวก็ทำการเติมลงไป ใช้ตกแบบตระกร้อหุ้มรำดีที่สุด
ชนิดของปลา ปลาเกร็ด ปลาหนังก็กิน แต่ที่ดีที่สุดจะเป็นพวกยี่สก จีน
สูตร ๙ รวมมิตร
ส่วนผสม รำ 2 ก.ก ข้าวโพด 5 ก.ก ข้าวเหนียวมูลครึ่ง ก.ก มะพร้าวขูด 3ขีด ขนมปังฝุ่น 1 ก.ก ใบผักชี 2 ขีด นมสด 1 กล่อง
วิธีทำ นำเอาข้าวโพดมาฝานบาง ๆ แล้วใส่กะละมังเอาไว้ ข้าวเหนี่ยวมูลนั้นใส่กะทิให้เหลวสักหน่อยจะได้ไม่เป็นก้อน แล้วเอามะพร้าวขูดมาคลุกเคล้าเข้าไปกับข้าวเหนียวแล้วเอามาเทรวมกันกับข้าวโพดตามด้วยส่วนผสมอื่น ๆ ชักชีนั้นหั่นเป็นฝอย ๆ คลุกเคล้าเบา ๆ ให้ทั่วก็นำไปใช้ได้
วิธีใช้ ใช้ตระกร้อหุ้มดีที่หนึ่งเลย
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิด
สูตร ๑๐ รำทรงเครื่อง
ส่วนผสม รำข้าวหอม 2 ก.ก ข้าวสารขั้ว 2 ขีด มะพร้าวขูด 2 ถ้วย น้ำมะพร้าว นมเปรี้ยว 1 กล่อง
วิธีทำ นำเอารำมาร่อนกากออก จากนั้นนำข้าวคั่วมาเทลงไปแล้วทำการคลุกเคล้าให้เข้ากันดี เอามะพร้าวมาใส่ตามลงไปตามลำดับพร้อมด้วยนมเปรี้ยวกะให้เหยื่อพอดี แล้วใส่ถุงพลาสติกเอาไว้ 5 วัน นำเอาไปตกปลาได้
วิธีใช้ ใช้ตกปลาได้ทุกที่ การตกนั้นตกด้วยตระกร้อหน้าดินดีที่สุด
ชนิดของปลา ปลาเกร็ดทุกชนิดกินทั้งนั้น

สูตร ๑๑ ปลาเกร็ด
ส่วนผสม รำข้าวหอม     ๑  ก.ก. ไผ่เขียว  ๑ ถุง   โอเมก้า ๓ ถุงแดง ๑ ถุง กระทิอร่อยดี ๑ กล่อง ผงชูรสห่อละ ๕ บาท ๑ ห่อ 

วิธีทำ นำส่วนผสมต่างๆ มาผสมให้เข้ากันดี อย่าให้แข็งหรือเหลวเกินไป 

วิธีใช้ ใช้ตกด้วยตระกร้อหน้าดิน (ผมใช้สูตรนี้ตกหมายธรรมชาติได้ผลดีมากครับ)




วิธีดูหลุมปลานิล... 

หลุมปลาส่วนใหญ่จะอยู่ติดกับขอบตลิ่ง ตั้งสายหน้าแค่คืบเดียว....ตั้งทุ่นไม่ต้องสูงมาก...เพราะว่าขอบตลิ่งน้ำจะตื้น...แล้วก้อค่อยๆ ลาก...กระดึ๊บ...กระคึ๊บ...ไปตามขอบตลิ่ง... 
ให้สังเกตจากทุ่น...ตอนลากไปทุ่นก้อจะโผล่เท่ากันเรื่อย...แต่ถ้าเจอหลุมปลา...ทุ่นก้อจะหายลงไปเลย....ให้ลากต่อไปอีกนิด (จะได้ทราบความกว้างของหลุม)...แล้วถ้าทุ่นโผล่สูงขึ้น...ก้อแสดงว่าเป็นหลุมปลาชัวร์... 


วิธีดูปลาหลุมนิล...


ปลาหลุมส่วนใหญ่จะเป็นปลาตัวผู้...ซึ่งจะทำรังไว้เป็นอาณาจักรของตัวเอง...ปลามันจะทำความสะอาดหลุมตลอดเวลา...ถ้ามีอะไรตกลงมาที่หลุม...มันก้อจะเอาหางปัดออก...หรือถ้ายังไม่ออก...มันก้อจะใช้ปากคาบออก...พอพ้นหลุมก้อจะปล่อยทันที...ดังนั้น...ถ้าเราเจอหลุมปลาแล้ว...ให้สังเกตทุ่นสักพัก...ถ้าทุ่นขยับไปมาเล็กน้อย...ก้อแสดงว่า...หลุมนั้นมีตัวแน่นอน...ใช้กุ้งฝอย หรือ เม็ดโฟม...เกี่ยวตัวเบ็ด...เพื่อไม่ให้ไปเกี่ยวสวะใต้น้ำก้อพอ...ถ้าปลาคาบกุ้งฝอย...หรือเม็ดโฟม...ออกจากหลุม...ให้สังเกตจากทุ่น...ทุ่นจะลอยสูงขึ้น...หรือมีการขยับเดินหน้า....ให้วัดเบ็ดทันที...ถ้าช้าไป...ปลาก้อจะปล่อยเบ็ดทันทีที่พ้นหลุม...เป็นการฝึกสายตา...และก้อฝึกสมาธิไปในตัวด้วย...เพราะถ้าเราเร็วกว่า...ปลากเสร็จ...แต่ถ้าเราช้ากว่า...ปลาก้อปล่อย...อดรับประทาน... 


12 ความคิดเห็น:

  1. สูตร ๑๑ ปลาเกร็ด เอาไปตกปลาบ่อกินดีไหมครับ??

    ตอบลบ
  2. ต้องหมักมั้ยคับ หรือว่าผสมแล้วตกได้เลยคับ

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณสำหรับความรู้คับ

    ตอบลบ
  4. สปิ้วสรูตไหนดีคับ

    ตอบลบ
  5. สูตร 1 กับ 2 นี้แหละทีเด็ด...

    ตอบลบ
  6. สูตรไหนใช้ดีบอกต่อกันด้วยน่ะครับ

    ตอบลบ
  7. สูตร11ปลานิลกินดีไหมครับ

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 06:32

    Play'n GO Review 2021 - CA Casino
    Merkur Gold RTP: 96.51%, 메리트 카지노 고객센터 Medium volatility: Medium volatility, Maximum 카지노 win: 40000x Your stake: 메리트카지노 500x Bonus Freespins and Free Spins.

    ตอบลบ